1. สำนักงานอัตโนมัติ (Automated office) สำนักงานอัตโนมัติ คือ การนำเอาคอมพิวเตอร์ตลอดจนความก้าวหน้าของเทคโนโลยี สื่อสารมาใช้ในการจัดการสำนักงาน โดยอุปกรณ์สื่อสารที่ใช้ภายในสำนักงานอาจเป็นระบบโทรศัพท์ เครื่องโทรสาร หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ติดต่อผ่านโมเด็มที่สามารถติดต่อสื่อสารทั้งเสียงพูดและภาพ ทั้งนี้สำนักงานอาจมีการวางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในหรือระบบแลน (LAN)เพื่อให้คอมพิวเตอร์ภายในระบบสามารถโอนย้าย คัดลอก แลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยในการเชื่อมโยงนั้นสามารถทำได้ระหว่างจุดต่าง ๆ หรือพร้อมกันหลาย ๆ จุด เช่น พนักงานขายหลายคนสามารถเรียกดูข้อมูลราคาสินค้าข้อมูลลูกค้าจากศูนย์ข้อมูลที่เก็บไว้ในฐาน ข้อมูลกลางในเวลาเดียวกันได้ ระบบเครือข่ายแลนและระบบโทรศัพท์ โทรสารจึงเป็นตัวอย่างการติดต่อสื่อสารข้อมูลที่ใช้ในสำนักงานซึ่งทำให้ข้อมูล ณ จุดต่าง ๆ เชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนกันได้ในทันทีทันใด 2. การสื่อสารด้วยแสง ปัจจุบันได้มีการประดิษฐ์อุปกรณ์ที่ใช้เป็นสื่อในการสื่อสารที่เรียกว่า เส้นใยแก้วนำแสง(Fiber Optic) โดยเส้นใยนำแสงนี้ประกอบด้วย ส่วนแรกคือเส้นใยที่ทำจากใยแก้วซึ่งเป็นแกนกลางทำให้แสงหักเหได้ ใยแก้วนี้มีชั้นห่อหุ้มซึ่งทำหน้าที่รักษาความเที่ยงตรงของลำแสงในขณะที่เดินทางผ่านเส้นใยที่คดเคี้ยว และส่วนที่สองคือตัวโครงสร้างเส้นใยแก้วซึ่งจะหุ้มด้วยพลาสติกและเส้นใยเหนียวยืดหยุ่นเพื่อป้องกันความเสียหายจากการแตกหักภายใน เมื่อประกอบเป็นสายนำสัญญาณจะใช้เส้นใยนำแสงหลายเส้นรวมกันอยู่ในท่อพลาสติกเดียวกัน มีจำนวนตั้งแต่ 4 เส้นขึ้นไป บางชนิดมีมากกว่า 24 เส้น ภาพเส้นใยแก้วนำแสง สาเหตุที่นิยมนำใยแก้วนำแสงมาใช้ในการสื่อสารเพราะสามารถใช้ส่งสัญญาณโทรศัพท์ได้หลายพันคู่สายมีขนาดเล็ก น้ำหนักเบาสามารถบิดโค้งงอในขณะเดินสายโดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อข้อมูลมีการสูญเสียต่ำปราศจากการรบกวน ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีความทนทานต่ออุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ทนทานต่อปฏิกิริยาทางเคมี การสื่อสารจะบริสุทธิ์ไม่ส่งสัญญาณรบกวนสิ่งรอบข้างนอกจากนี้ยังสามารถวางเส้นใยนำเป็นสายเคเบิลควบคู่ไปกับ สายไฟฟ้าแรงสูงโดยที่สนามแม่เหล็กของไฟฟ้าแรงสูงไม่สามารถรบกวนได้เลย สามารถวางเส้นใยนำแสงใต้ดินในอุโมงค์ใต้ท้องทะเล ลอดใต้แม่น้ำ และสามารถนำมาใช้กับงานต่างๆ เช่นงานด้านเคเบิลทีวี งานการสื่อสารควบคุมการจราจรของรถไฟรถยนต์ การควบคุมในงานอุตสาหกรรมงานเชื่อมโยงการสื่อสารข้อมูลภายในอาคารสำนักงาน งานระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบโทรศัพท์ และการสื่อสารในบริเวณที่เกิดอันตรายได้ง่ายเป็นต้น ปัจจุบันองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยได้ดำเนินการวางสายเส้นใยนำแสงเชื่อมโยงเครือข่ายโทรศัพท์์แทนไมโครเวฟ นอกจากนั้นองค์การระหว่างประเทศทางด้านการสื่อสารได้ดำเนินการวางเส้นใยนำแสงเป็นเคเบิลใต้น้ำเพื่อเชื่อมโยงการสื่อสาร ระหว่างประเทศด้วย การสื่อสารผ่านดาวเทียมเป็นการสื่อสารที่มีสถานีรับส่งอยู่ที่พื้นดินส่งตรงขึ้นไปยัง ดาวเทียมแล้วส่งต่อลงมายังตัวรับส่งที่พื้นดินอีกครั้งหนึ่ง ดาวเทียมจึงเสมือนเป็นสถานีถ่ายทอดสัญญาณที่ดียิ่ง เพราะลอยอยู่บนท้องฟ้าในระดับสูงมากประเทศไทยเริ่มใช้ดาวเทียมสื่อสารครั้งแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 การสื่อสารแห่งประเทศไทยตั้งสถานีภาคพื้นดินที่อำเภอศรีราชา ชลบุรี โดยเช่าช่องสัญญาณจำนวน 13 ช่องสัญญาณ เพื่อติดต่อสื่อสารระหว่างประเทศดาวเทียมที่ใช้ในยุคแรกเป็นของ บริษัท ยูอาร์ซีเอ ซึ่งเป็นดาวเทียมทางทหารของสหรัฐอเมริกา ใน พ.ศ. 2522 สถานีโทรทัศน์ในประเทศไทยมีการขยายเครือข่ายทั่วประเทศในการนี้มีการเช่าช่องสัญญาณจากดาวเทียมปาลาปา ของอินโดนีเซีย ทำให้ระบบการถ่ายสัญญาณโทรทัศน์ ของประเทศไทยกระจายไปยังเมืองใหญ่ ๆ ได้ทั่วประเทศ จานรับสัญญาณดาวเทียมปาลาปา มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-3 เมตร ซึ่งนับว่าเป็นจานขนาดใหญ่พอสมควร การถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมทำได้ง่ายเพราะไม่ต้องเสียเวลาเดินสายหรือเชื่อมโยงด้วยไมโครเวฟ ดาวเทียมสื่อสารที่ใช้งานต้องมีลักษณะพิเศษคือ เป็นดาวเทียมค้างฟ้า ซึ่งต่างจากดาวเทียมจารกรรมทางทหารหรือดาวเทียมสำรวจทรัพยากรที่ประเทศมหาอำนาจส่งขึ้นไป ดาวเทียมเหล่านั้นจะเคลื่อนที่โคจรรอบโลกผ่านทุกส่วนของพื้นผิวโลก โดยจะกลับมาที่เดิมในระยะเวลาประมาณ 9-11 วัน ดาวเทียมค้างฟ้า เป็นดาวเทียมที่ต้องอยู่บริเวณเหนือเส้นศูนย์สูตรและโคจรรอบโลก 1รอบ ใน 1 วันพอดีกับเวลาที่โลกหมุนรอบตัวเอง ระดับความสูงและความเร็วการโคจรต้อง เหมาะสม ดาวเทียมค้างฟ้าที่ใช้ในการสื่อสารอยู่ที่ระดับความสูง 42,184.2 กิโลเมตร ภาพที่ 10.3 ตัวอย่างการวางตำแหน่งดาวเทียมเพื่อส่งสัญญาณครอบคลุมทั่วโลก บริษัทชั้นนำในด้านการข่าวเช่น ซีเอ็นเอ็นจะมีดาวเทียมของตนเองทำให้สามารถส่งข่าว หรือรับข่าวสารได้ตลอดเวลาจากทั่วโลก ผู้รับสัญญาณโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็นต้องมีจานรับสัญญาณจึง จะรับได้และต้องปรับทิศให้ตรงกับตำแหน่งดาวเทียมเพื่อให้ดาวเทียมแพร่สัญญาณ ได้ทุกพื้นที่ในโลกจะต้องมีดาวเทียมหลายดวงรอบโลกสัญญาณ จะครอบคลุมทั่วโลกได้ต้องใช้ดาวเทียมอย่างน้อยสามดวง |
ภาพที่ 10.4 การสื่อสารผ่านดาวเทียม ในช่วงปลาย พ.ศ. 2536 บริษัทชินวัตรได้รับอนุมัติจากรัฐบาลไทยให้ส่งดาวเทียมสื่อสาร ของไทยขึ้นเป็นดาวดวงแรกมีชื่อว่า ไทยคม การสื่อสารของไทยจึงก้าวหน้าและสามารถตอบสนอง ความต้องการของผู้ใช้มากขึ้นดาวเทียมไทยคมอยู่ในตำแหน่งเส้นแวงที่ 101 องศาตะวันออก เหนือเส้นศูนย์สูตรบริเวณอ่าวไทยค่อนไปทางใต้ ใช้สัญญาณพาหะในย่านความถี่ 4 , 10 และ 12 จิกะเฮิรทซ์ บริษัทผู้ผลิตดาวเทียมคือ บริษัทฮิวส์แอโรคราปของประเทศสหรัฐอเมริกา และส่งขึ้นวงโคจรด้วยจรวดของบริษัทเอเรียนสเปสของประเทศฝรั่งเศส ดาวเทียมตัวนี้มีอายุประมาณ 15 ปี ปัจจุบันได้ส่งดาวเทียมไทยคมดวงที่สองขึ้นสู่ท้องฟ้าเป็นที่เรียบร้อย การสื่อสารผ่านดาวเทียมในประเทศไทยจึงเป็นอีกก้าวหนึ่งที่ทำให้ประเทศไทย มีทางเลือกของการสื่อสารมากขึ้น การรับรู้ข้อมูลข่าวสารจะทำได้เร็วขึ้น การส่งสัญญาณผ่าน ดาวเทียมเป็นหนทางหนึ่งที่จะส่งไปยังพื้นที่ใด ๆ ก็ได้ในประเทศ แม้จะอยู่ในป่าเขาหรือ มีสิ่งกีดขวางทางภาคพื้นดิน ดังนั้น การกระจายข่าวสารในอนาคตจะมีบทบาทเพิ่มขึ้น การใช้ข้อมูลข่าวสารจะเจริญ เติบโตไปพร้อมกับความต้องการหรือการกระจายตัวของระบบสื่อสาร |
4. โครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิตอล(Integrated Services Digital Network : ISDN) โครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิตอล(Integrated Services Digital Network : ISDN) เป็นระบบการสื่อสารมาตรฐานที่ถูกนำเข้ามาใช้ในการสื่อสารโทรคมนาคมโดยเฉพาะ ระบบโทรศัพท์เดิมซึ่งเป็นระบบสื่อสารที่ใช้สัญญานอนาล็อกที่ใช้สื่อนำสัญญาณ คือ ลวดทองแดงและสายโคแอกเซียลเป็นสื่อนำสัญญา ปัจจุบันองค์การโทรศัพท์และการสื่อสารแห่งประเทศไทยได้นำเอาเทคโนโลยีสัญญาณดิจิตอลมาใช้ ทำให้ความต้องการใช้งานเครือข่ายชุมสายโทรศัพท์สูงขึ้นโดยมีการประยุกต์ เพื่อนำเอาโทรสารมาใช้มีการส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์เข้าช่องสัญญาณโทรศัพท์ เพื่อใช้ในกิจการค้ามากขึ้นเช่น ใช้ส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ การแลกเปลี่ยนข่าวสาร จึงทำให้ระบบโทรศัพท์มีการพัฒนาสามารถส่งสัญญานได้หลายช่องทางในเวลาเดียวกันได้ การประยุกต์ใช้โครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิตอลนี้จึงเป็นเรื่องที่รวมการบริการหลายอย่างเข้า ในเครือข่ายโทรศัพท์ เช่น การประชุมทางโทรศัพท์ การรับส่งข้อมูลทางโทรศัพท์ที่มีภาพประกอบ หรือเห็นภาพผู้รับปลายทางอย่างชัดเจน |
5. อินเทอร์เน็ต (Internet) อินเทอร์เน็ต เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก (International Network) ซึ่งประกอบด้วยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ย่อยจำนวนมากมายที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก โดยในการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายจะสามารถติดต่อสื่อสารเพื่อการเรียกใช้หรือแลกเปลี่ยนข้อมูล ตลอดจนสนทนากันได้ตลอด24 ชั่วโมง ลักษณะข้อมูลที่ปรากฏในเครือข่ายมีทั้งข้อมูล ที่เป็นตัวอักษรรูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียง หรือปรากฏในรูปแบบของสื่อประสม (Multimedia) เครือข่ายอินเทอร์เน็ตถือเป็นห้องสมุดโลก ทั้งนี้เนื่องจากเปิดให้ผู้ที่ต้องการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ใส่ข้อมูลข่าวสารไว้ในเครือข่าย ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลสาธารณะ ที่เปิดสามารถเรียกหรือค้นคืนได้ ส่งผลทำให้อินเทอร์เน็ตกลายเป็นแหล่งข้อมูล ขนาดมหาศาลกระจัดกระจายเชื่อมโยงกันอยู่ทั่วโลก นับเป็นเทคโนโลยีการสื่อสารที่ได้รับความนิยมอย่างสูงสุดในปัจจุบัน |
6. การแลกเปลี่ยนข้อมูล ความเร็วของการสื่อสารข้อมูลด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์นั้น เราสามารถทำได้หลายอย่างพร้อมกันในเวลาเดียว โดยเฉพาะในวงการธุรกิจได้นำเอาระบบ EDI(Electronic Data Interchange) มาใช้เพื่อให้ข้อมูลที่อยู่ในรูปอิเล็กทรอนิกส์สามารถแลกเปลี่ยน เข้าถึงกันได้ การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น จะสามารถแลกเปลี่ยนได้ก็ต่อเมื่อตัวข้อมูลมีมาตรฐานเดียวกัน ดังนั้นข้อมูลจึงต้องได้รับการกำหนดมาตรฐานขึ้น เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติร่วมกันโดยช้อมูลที่เกิดขึ้นมักจะได้รับการรายงานผลผ่านอุปกรณ์สื่อสารหลายอย่าง เช่น โทรสาร วิทยุสมัครเล่น โทรทัศน์ และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นจะเกิดขึ้นตามเวลาจริงและรายงานมายังศูนย์ข้อมูลเพื่อทำการตรวจสอบข้อมูล และปรับปรุงข้อมูลในระบบทันที ดังนั้นข้อมูลในฐานข้อมูลจึงถูกปรับปรงอยู่ตลอดเวลา ผู้เรียกดูข้อมูลจะได้ข้อมูลที่ทันสมัยอยู่เสมอ การเรียกดูข้อมูลทุกขณะ จะมีการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลตามความจริงที่เกิดขึ้น |
การติดต่อสื่อสารข้อมูล | ||||||||||||||||||||||||||||||
การติดต่อสื่อสารข้อมูลสมัยใหม่นี้ มีรากฐานมาจากความพยายามในการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์โดยอาศัยระบบสื่อสารที่มีอยู่ เช่นโทรศัพท์ดังนั้นการสื่อสารข้อมูล จึงอยู่ในขอบเขตที่จำกัด ต่อมาเมื่อมีการใช้คอมพิวเตอร์มากขึ้นความต้องการในการติดต่อระหว่างคอมพิวเตอร์หลายเครื่องในเวลาเดียวกันที่เรียกว่า ระบบเครือข่าย (Network) ได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้นเป็นลำดับ ในตอนเริ่มต้นของยุคสื่อสารเมื่อประมาณ พ.ศ. 2513-2515 ความต้องการใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกันมีมากขึ้น แต่คอมพิวเตอร์ยังมีราคาสูงมากเมื่อเทียบกับอุปกรณ์สื่อสารที่มีอยู่แล้วบางอย่าง การสื่อสารด้วยระบบเครือข่ายในระยะนั้นจึงเน้นการใช้คอมพิวเตอร์ที่ศูนย์คอมพิวเตอร์เป็นผู้ให้บริการแก่ผู้ใช้ปลายทางหลายคนเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายของระบบ ต่อมาเมื่อเทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์เปลี่ยนไป การสื่อสารจึงกลายเป็นระบบเครือข่ายแบบกระจาย กล่าวคือ แทนที่จะออกแบบให้เครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทางต่อกับเครื่องเมนเฟรม ก็เปลี่ยนเป็นระบบเครือข่ายที่ใช้คอมพิวเตอร์ต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์แทน ลักษณะของเครือข่ายจึงเริ่มจากจุดเล็ก ๆ อาจจะอยู่บนแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์เดียวกัน ขยายตัวใหญ่ขึ้นเป็นระบบที่ทำงานร่วมกันในห้องทำงาน ในตึก ระหว่างตึก ระหว่างสถาบัน ระหว่างเมือง ระหว่างประเทศ การจัดแบ่งรูปแบบของเครือข่ายคอมพิวเตอร์จึงแยกตามขนาดของเครือข่าย ดังตารางที่ 10.1 | ||||||||||||||||||||||||||||||
ตารางที่ 10.1 การแบ่งแยกลักษณะของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ตามระยะทางระหว่างโพรเซสเซอร์ | ||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||
ข้อมูลในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่เก็บในคอมพิวเตอร์สามารถส่งต่อ คัดลอก จัดพิมพ์ ทำสำเนาได้ง่าย เมื่อเทียบกับการคัดลอกด้วยมือซึ่งต้องใช้เวลามากและเสี่ยงต่อการทำข้อมูลผิดพลาดอีกด้วย จึงทำให้ระบบการสื่อสารข้อมูลเป็นไปอย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น | ||||||||||||||||||||||||||||||
รูปร่างของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ | ||||||||||||||||||||||||||||||
คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์รับ-ส่งข้อมูลที่ประกอบกันเป็นเครือข่าย มีการเชื่อมโยงถึงกันในรูปแบบต่าง ๆ ตามความเหมาะสม เทคโนโลยีการออกแบบเชื่อมโยงนี้เรียกว่า รูปร่างเครือข่าย (network topology) เมื่อพิจารณาการต่อเชื่อมโยงถึงกันของอุปกรณ์สำนักงานซึ่งใช้งานที่ต่าง ๆ หากต้องการเชื่อมต่อถึงกันโดยตรง จะต้องใช้สายเชื่อมโยงมาก ดังภาพที่ 10.5 | ||||||||||||||||||||||||||||||
ภาพที่ 10.5 การเชื่อมโดยตรง | ||||||||||||||||||||||||||||||
รูปร่างเครือข่ายงานที่ใช้ในการสื่อสารมีหลายรูปแบบ ดังนี้ 1. แบบดาว เป็นแบบการต่อสายเชื่อมโยง โดยการนำสถานีต่างๆ มาต่อร่วมกันกับหน่วยสลับสายกลาง การติดต่อสื่อสารระหว่างสถานีจะกระทำได้ด้วยการติดต่อผ่านทางวงจรของหน่วยสลับสายกลาง การทำงานของหน่วยสลับสายกลางจึงคล้ายกับศูนย์กลางของการติดต่อวงจรเชื่อมโยงระหว่างสถานีต่าง ๆ ที่ต้องการติดต่อกัน | ||||||||||||||||||||||||||||||
ภาพที่ 10.6 รูปร่างเครือข่ายแบบดาว | ||||||||||||||||||||||||||||||
2. แบบวงแหวน เป็นแบบที่สถานีของเครือข่ายทุกสถานีจะต้องเชื่อมต่อกับเครื่องขยายสัญญาณของตัวเองโดยจะมีการเชื่อมโยงของสัญญาณของทุกสถานีเข้าด้วยกันเป็นวงแหวน เครื่องขยายสัญญาณเหล่านี้จะมีหน้าที่ในการรับข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของตัวเองหรือจากเครื่องขยายสัญญาณตัวก่อนหน้าและส่งข้อมูลต่อไปยังเครื่องขยายสัญญาณตัวถัดไปเรื่อย ๆ เป็นวง หากข้อมูลที่ส่งเป็นของสถานีใด เครื่องขยายสัญญาณของสถานีนั้นก็รับและส่งให้กับสถานีนั้น เครื่องขยายสัญญาณจึงต้องมีการตรวจสอบข้อมูลที่ได้รับว่าเป็นของตนเองหรือไม่ด้วย ถ้าใช่ก็รับไว้ ถ้าไม่ใช่ก็ส่งต่อไป | ||||||||||||||||||||||||||||||
ภาพที่ 10.7 รูปร่างเครือข่ายแบบวงแหวน | ||||||||||||||||||||||||||||||
3. แบบบัสและต้นไม้ เป็นรูปแบบที่มีผู้นิยมใช้มากแบบหนึ่ง เพราะมีโครงสร้างไม่ยุ่งยากและไม่ต้องใช้เครื่องขยายสัญญาณหรืออุปกรณ์สลับสาย เหมือนแบบวงแหวนหรือแบบดาว สถานีต่าง ๆ จะเชื่อมต่อเข้าหาบัสโดยผ่านทางอุปกรณ์เชื่อมต่อที่เป็นฮาร์ดแวร์ การจัดส่งข้อมูลลงบนบัส จึงสามารถทำให้การส่งข้อมูลไปถึงทุกสถานีได้ การจัดส่งวิธีนี้จึงต้องกำหนดวิธีการที่จะไม่ให้ทุกสถานีส่งข้อมูลพร้อมกันเพราะจะทำให้ข้อมูลชนกัน โดยวิธีการที่ใช้อาจเป็นการแบ่งช่วงเวลาหรือให้แต่ละสถานีใช้ความถี่สัญญาณที่แตกต่างกัน | ||||||||||||||||||||||||||||||
ภาพที่ 10.8 รูปร่างเครือข่ายแบบบัส และแบบต้นไม้ | ||||||||||||||||||||||||||||||
จะเห็นได้ว่า เทคโนโลยีการสื่อสารได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว และเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องเรียนรู้ให้เท่านั้นกับเทคโนโลยีสารสนเทศที่ก้าวไปอย่างไม่หยุดยั้งเหล่านี้ | ||||||||||||||||||||||||||||||
ความสำคัญ และประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูล | ||||||||||||||||||||||||||||||
ความสำคัญของการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีดังนี้ 1. การจัดเก็บข้อมูลได้ง่ายและสื่อสารได้รวดเร็ว การจัดเก็บข้อมูลซึ่งอยู่ในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ สามารถจัดเก็บไว้ในแผ่นบันทึกข้อมูลได้มากกว่า 1 ล้านตัวอักษร สำหรับการ สื่อสารข้อมูลนั้น สามารถใช้ได้ทั้งโทรศัพท์ ดาวเทียม สามารถส่งข้อมูลได้โดยที่ไม่ต้องเสียเวลามานั่งป้อนข้อมูลเหล่านั้นซ้ำใหม่อีก 2. ความถูกต้องของข้อมูล โดยปกติมีการส่งข้อมูลด้วยสัญญาณทางอิเล็กทรอนิกส์จากจุดหนึ่งไปยังจุดอื่นด้วยระบบดิจิตอล วิธีการรับส่งนั้นจะมีการตรวจสอบสภาพของข้อมูลหากข้อมูลผิดพลาดก็จะมีการรับรู้และพยายามหาวิธีการแก้ไขให้ข้อมูลที่ได้รับมีความถูกต้อง โดยอาจให้ทำการส่งใหม่ หรือกรณีที่ผิดพลาดไม่มากนัก ฝ่ายผู้รับอาจใช้โปรแกรมของตนแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องได้ 3. ความเร็วของการทำงาน โดยปกติสัญญาณของไฟฟ้าจะเดินทางด้วยความเร็วเท่าแสง ทำให้การใช้คอมพิวเตอร์ส่งข้อมูลจากซีกโลกหนึ่งไปยังอีกซีกโลกหนึ่งหรือค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ สามารถทำได้รวดเร็ว ความรวดเร็วของระบบจะทำให้ผู้ใช้สะดวกสบายอย่างยิ่ง เช่น บริษัทสายการบินทุกแห่งสามารถทราบข้อมูลของทุกเที่ยวบินได้อย่างรวดเร็ว ทำให้การจองที่นั่งของสายการบินสามารถทำได้ทันที 4. ต้นทุนประหยัด การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ต่อเข้าหากันเป็นเครือข่ายเพื่อส่งหรือสำเนาข้อมูลทำให้ราคาต้นทุนของการใช้ข้อมูลไม่แพง เมื่อเทียบกับการจัดส่งแบบวิธีอื่นซึ่งสามารถส่งโปรแกรมให้กันและกันผ่านทางสายโทรศัพท์ได้ |
ความหมายของระบบเครือข่าย |
ระบบเครือข่าย (Networking) คือ ลักษณะ วิธีการ รูปแบบหรือข้อกำหนดในการทำให้คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์เครือข่าย สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้และสามารถที่จะเข้าใจความหมายของข้อมูลที่ได้รับมาอย่างถูกต้อง มีความหมายครอบคลุมทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์ และ รูปแบบการสื่อสาร (Protocol) เครือข่ายคอมพิวเตอร์ก่อให้เกิดความสามารถในการปฏิบัติการร่วมกัน ซึ่งหมายถึงการให้อุปกรณ์ทุกชิ้นที่ต่ออยู่บนระบบเครือข่ายทำงานร่วมกันได้ทั้งหมดในลักษณะที่ประสานรวมกัน โดยผู้ใช้เห็นเสมือนใช้งานในอุปกรณ์เดียวกัน จึงเป็นวิธีการในการนำเอาอุปกรณ์ต่างชนิดจำนวนมากมารวมกันเป็นเสมือนระบบเดียวกัน ทั้งๆ ที่อุปกรณ์เหล่านั้นอาจจะมาจากต่างยี่ห้อ ต่างบริษัท ก็ได้ ปกติ การใช้งานคอมพิวเตอร์จะประกอบด้วย คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ ดังตัวอย่าง |
ภาพที่ 10.9 รูปคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานแบบ Stand-alone |
แต่เมื่อนำคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปมาต่อพวงกัน เราจะสามารถใช้งานร่วมกันได้ |
ภาพที่ 10.10 คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อแบบระบบเครือข่าย |
ประเภทของระบบเครือข่าย | ||||
ระบบเครือข่ายโดยทั่วไป สามารถแบ่งออกตามขนาดของเครือข่ายได้เป็น 3 ประเภท คือ 1. ระบบเครือข่ายท้องถิ่นหรือระบบแลน (Local Area Network - LAN) เป็นการนำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในองค์กรเดียวกัน หรืออยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกันมาเชื่อมโยงเข้าเป็นเครือข่าย เช่นในห้องเดียวกันหรือตึกเดียวกัน หรือในโรงเรียนเดียวกันต่อเชื่อมกัน | ||||
ภาพที่ 10.11 ระบบ LAN | ||||
2. เครือข่ายระดับเมือง หรือระบบแมน (Metro Area Network - MAN) เป็นเครือข่ายระดับเมือง ซึ่งเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ที่อยู่ต่างพื้นที่ หรืออยู่คนละเมืองเข้าด้วยกัน โดยคอมพิวเตอร์ที่นำมาเชื่อมโยงกัน อาจมีการวางโครงสร้างที่ต่างกันก็ได้ 3. เครือข่ายระยะไกล หรือระบบแวน (Wide Area Network-WAN) เป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์หรือระบบLAN หลายๆ ระบบที่กระจายอยู่ทั่วโลกเข้าด้วยกัน โดยอาศัยระบบสื่อสารโทรคมนาคมที่มีอยู่ เช่น โมเด็มและโทรศัพท์ เป็นเส้นทางในการแลกเปลี่ยนข้อมูล | ||||
ภาพที่ 10.12 ระบบ WAN | ||||
อุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อระบบเครือข่าย | ||||
ในการนำเอาคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อกันนั้น จะต้องมีอุปกรณ์อย่างน้อยดังนี้ 1. แผงวงจรหรืออุปกรณ์เชื่อมต่อเครือข่าย (LAN Card) ฮาร์ดแวร์ที่ใช้เชื่อมต่อระบบ LAN ส่วนใหญ่ จะออกแบบเป็นการ์ด หรือแผงวงจรไฟฟ้าในช่อง (Slot) ของคอมพิวเตอร์ เรียกว่า Network Interface Card (NIC) หรือเรียกกันทั่วไปว่า LAN Card ซึ่งการ์ดเหล่านี้มีช่องเสียบอยู่ข้างหลังเพื่อต่อกับสายที่ใช้เชื่อมโยงกับเครือข่าย | ||||
ภาพที่ 10.13 แผงวงจร LAN Card | ||||
2. สายสัญญาณหรือสายเคเบิล เป็นสายเคเบิลที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเสียบเข้าที่ LAN Card ของแต่ละเครื่อง โดยสายที่นิยมใช้ทั่วไปมีดังนี้ 2.1 สาย Coaxial เป็นสายเดี่ยว ที่มีเปลือกเป็นสายโลหะถักเพื่อป้องกันคลื่นรบกวน มีทั้งแบบเปลือกบาง และแบบเปลือกหนา | ||||
ภาพที่ 10.14 สาย Coaxial | ||||
2.2 สาย UTPหรือสายแลน (unshielded Twisted Pair) เป็นสายขนาดเล็ก คล้ายสายโทรศัพท์แต่มี 8 เส้น ตีเกลียวเป็นคู่ เพื่อผลสัญญาณรบกวน (สาย LAN) | ||||
ภาพที่ 10.15 สาย UTP | ||||
2.3 สาย STP (Shielded Twister Pair) เป็นสายคู่เล็กๆ ตีเกลียวไขว้กันแบบ URP แต่มีฉนวนหุ้ม เพื่อป้องกันสัญญาณรบกวน ใช้กรณีเชื่อมต่อเป็นระยะทางไกลๆ | ||||
ภาพที่ 10.16 สาย STP | ||||
2.4 สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) เป็นสายที่ใช้ส่งสัญญาณด้วยแสง ซึ่งจะต้องมี อุปกรณ์พิเศษ มีข้อดีตรงที่ส่งได้เป็นระยะทางไกลๆ โดยไม่มีสัญญาณรบกวน ภาพที่ 10.17 สาย Fiber Optic | ||||
3. โมเด็ม (Modem) เป็นอุปกรณ์เครือข่ายชนิดหนึ่งที่ใช้ในการสื่อสารผ่านทางสายโทรศัพท์ โดยมีหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณโทรศัพท์ ให้เป็นสัญญาณคอมพิวเตอร์เพื่อส่งเข้าไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ และเปลี่ยนสัญญาณคอมพิวเตอร์เป็นสัญญาณโทรศัพท์เพื่อส่งเข้าไปในสายโทรศัพท์ การสื่อสารที่ใช้อุปกรณ์ชนิดนี้ เช่น อินเทอร์เน็ต เป็นต้น ภาพที่ 10.18 โมเด็ม ภาพที่ 10.19 การสื่อสารผ่านโมเด็ม | ||||
4. ฮับ (HUP) เป็นอุปกรณ์ทวนสัญญาณ มีหน้าที่กระจายสัญญาณไปสู่คอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย หรือเป็นศูนย์กลางที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์อื่นๆ เข้าด้วยกัน มี 2 ลักษณะ คือ 4.1 ฮับแบบธรรมดา จะกระจายสัญญาณที่ได้รับการแชร์ โดยเฉลี่ยสู่คอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายอย่างสม่ำเสมอ ภาพที่ 10.20 ฮับแบบธรรมดา 4.2 สวิตซิ่งฮับ (Switching Hub) จะทำการกระจายสัญญาณที่ได้รับสู่คอมพิวเตอร์ใน เครือข่ายสลับกันไปตามความต้องการของคอมพิวิเตอร์แต่ละตัว ภาพที่ 10.21 Switching HUB | ||||
การจัดกลุ่มอุปกรณ์การสื่อสาร | ||||
1. อุปกรณ์ที่ให้เกิดระบบเครือข่าย ประกอบด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์ 2 เครื่อง หรือมากกว่า 2 เครื่อง เชื่อมต่อ เป็นระบบเครือข่ายภายใน ในประกอบด้วย
| ||||
2. อุปกรณ์ที่ใช้ในการติดต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ประกอบด้วย
| ||||
3. อุปกรณ์เพื่อให้เกิด การสร้างงานในลักษะของสื่อประสม ประกอบด้วย
|
ในหลักการของระบบเครือข่ายมาตรฐานนั้น คอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปจะรู้จักกันได้จะต้องมีอุปกรณ์อย่างน้อย 2 ประเภท คือ 1. อุปกรณ์เชื่อมต่อเครือข่ายที่เสียบในเครื่องคอมพิวเตอร์ เรียกว่า การ์ดแลน 2. สายเคเบิลที่เชื่อมต่อระหว่างเครื่องโดยเสียบเข้ากับการ์ดแลน |
การเชื่อมต่อแบบระบบแลน |
LAN ย่อมากจาก Local Area Network หมายถึง การนำเอาคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ มาต่อเชื่อมกัน ทั้งนี้เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะสามารถสื่อสารข้อมูลถึงกันได้ทั้งหมดใน พื้นที่ใกล้ ๆ กัน เช่นภายในห้อง อาคารหรือภายในโรงเรียนเดียวกัน ทั้งนี้ในการสื่อสารกันนั้น จะต้องมีองค์ประกอบ ดังนี้ 1. โปรแกรม ซึ่งจะเป็นตัวจัดการให้เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสื่อสารกันได้ เมื่อเชื่อมต่อกันอุปกรณ์ต่างๆ แล้ว 2. เครื่องคอมพิวเตอร์จะมีชื่อ Workgroup ชื่อเดียวกันทั้งวง โดยสามารถตั้งชื่อได้เองตามต้องการ 3. เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีหมายเลขประจำเครื่องซึ่งเรียกว่า IP Address ซึ่งเป็นหมายเลข |
ประโยชน์และบทบาทของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ |
ความสำคัญของการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จึงเป็นสิ่งที่ตระหนักกันอยู่เสมอ ลองพิจารณาถึงประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูลต่อไปนี้ 1. การจัดเก็บข้อมูลได้ง่ายและสื่อสารได้รวดเร็ว การจัดเก็บข้อมูลซึ่งอยู่ในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์สามารถจัดเก็บไว้ในแผ่นบันทึกที่มีความหนาแน่นสูง แผ่นบันทึกแผ่นหนึ่งสามารถบันทึกข้อมูลได้มากกว่า 1 ล้านตัวอักษร สำหรับการสื่อสารข้อมูลนั้นถ้าข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ได้ด้วยอัตรา 120 ตัวอักษรต่อวินาทีแล้ว จะส่งข้อมูล 200 หน้าได้ในเวลา 40 นาที โดยที่ไม่ต้องเสียเวลามานั่งป้อนข้อมูลเหล่านั้นซ้ำใหม่อีก 2. ความถูกต้องของข้อมูล โดยปกติมีการส่งข้อมูลด้วยสัญญาณทางอิเล็กทรอนิกส์จากจุดหนึ่งไปยังจุดอื่นด้วยระบบดิจิตอล วิธีการรับส่งนั้นจะมีการตรวจสอบสภาพของข้อมูลหากข้อมูล ผิดพลาดก็จะมีการรับรู้และพยายามหาวิธีการแก้ไขให้ข้อมูลที่ได้รับมีความถูกต้อง โดยอาจให้ ทำการส่งใหม่หรือกรณีที่ผิดพลาดไม่มากนัก ฝ่ายผู้รับอาจใช้โปรแกรมของตนแก้ไขข้อมูลให้ ถูกต้องได้ 3. ความเร็วของการทำงาน โดยปกติสัญญาณของไฟฟ้าจะเดินทางด้วยความเร็วเท่าแสง ทำให้การใช้คอมพิวเตอร์ส่งข้อมูลจากซีกโลกหนึ่งไปยังอีกซีกโลกหนึ่ง หรือค้นหาข้อมูลจาก ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ สามารถทำได้รวดเร็ว ส่งผลให้ผู้ใช้ได้รับความสะดวกสบายอย่างยิ่ง เช่น บริษัทสายการบินทุกแห่งสามารถทราบข้อมูลของทุกเที่ยวบินได้อย่างรวดเร็วเป็นต้น 4. ประหยัดต้นทุน การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ต่อเข้าหากันเป็นเครือข่ายเพื่อส่งหรือสำเนา ข้อมูลทำให้ราคาต้นทุนของการใช้ข้อมูลไม่แพงเมื่อเทียบกับการจัดส่งแบบวิธีอื่น นักคอมพิวเตอร์บางคนสามารถส่งโปรแกรมให้กันและกันผ่านทางสายโทรศัพท์ได้ |